วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    4  ธันวาคม  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  15  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2



Knowle

นำเสนอวิจัยเพื่อนที่ยังตกค้างอีก 1 คน สรุปเป็น Map ได้ดังนี้

        เรื่อง  การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมถัดมา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจัดโต๊ะนั่งกันเป็นกลุ่ม แล้วช่วยกันคิดทำแผนพับเกี่ยวกับเรื่องหย่วยของตนเอง เพื่อที่จะแจ้งให้ผู้ปกครองรู้ว่า สัปดาห์นี้เราจะเรียนรู้เรื่องหน่วยอะไร ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ หน่วย  ไก่  จึงทำแผ่นพับออกมา  ดังนี้

ซึ่งในแผ่นพับนี้ จะมีหัวข้อต่างๆดังนี้
หน้าแรก
- มีตราประจำโรงเรียน
-ชื่อหน่วย
-ชื่อนักเรียน
-ชื่อครูประจำชั้น
หน้าที่ 2 
- วัตถุประสงค์ (แต่ถ้าลงในแผ่นพับควรเปลี่ยนชื่อหัวข้อ )
หน้าที่ 3
- สาระทางวิทยาศาสตร์
*ถ้าเราอยาหยากที่จะให้ผู้ปกครองนำอะไรมาก็เขียนใส่ไว้ด้านล่าง*
หน้าที่ 4
- เป็นเพลง / คำคล้องจอง / นิทาน
หน้าที่ 5
- เป็นเกมการศึกษา กลุ่มของดิฉันเลือกเกมจับคู่ภาพและเงา
หน้าสุดท้าย
-เป็นรายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

หลังจากที่ทุกกลุ่มทำแผ่นพับเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้ข้อเสนอแนะโดนรวมของทุกๆกลุ่ม แล้วอาจารย์ได้อวยพรให้นักศึกษาทุกคนโชคดี  ในการสอบ


เทคนิคการสอน (Techinque)
  • การเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • การสอนแบบแก้ปัญหา
  • การสอนโดยใช้คำถาม
  • การนำเสนอ
  • การสอนแบบอภิปราย
  • การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
Evaluation

Self  >>  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ ฟังอาจารย์อธิบายตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

Friends >> เพื่อนตั้งใจฟังและตั้งใจทำงานกลุ่มกันได้ดีมาก  ทุกคนร่วมมือกันทำแผ่นพับเพื่อให้ออกมาสวยงามและดีมาก

Teacher >>  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับทุกๆกลุ่มในการทำแผ่นพับ และได้ให้ความรู้แปลกๆใหม่กับนักศึกษาคอยห่วงและคอยใส่ใจนักศึกษาทุกๆคน  ก่อนจะปิดคร์อสอาจารย์ก้ได้ให้คำอวยพรกับนักศึกษาทุกคน  จากที่ได้เรียนกับอาจารย์มาตลอดเทอมนี้  ทำให้หนูได้ความรู้ที่แปลกใหม่ และได้เทคนิคการสอนการเรียนเพิ่มขึ้น ขอขอบคุณอาจารย์นะค่ะ ที่ได้สั่งสอนและชี้แนวทางให้พวกหนู


                           

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    27 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  15  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2


Knowle

      นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู  ของแต่ละคน สรุปเป็น Map  ได้ดังนี้

สรุปวิจัย

1. การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




2. ผลการจัดประสบการณ์หน่วยในวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีผลต่อการสังเกตของเด็กปฐมวัย


3. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


4, ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย



สรุปโทรทัศน์ครู

จากที่เพื่อนๆนำเสนอมาดิฉันจึงสรุปความรู้ได้ดังนี้





หลังจากเพื่อนๆทุกคนนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้ทบทวนและเคลียงานทุกๆอย่างให้ทุกคน และอาจารย์ได้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างในเรื่องของการเขียนแผนให้กับแต่ละกลุ่มว่าควรแก้ในจุดใดบ้าง

เทคนิคการสอน (Techinque)
  • การเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • การสอนแบบแก้ปัญหา
  • การสอนโดยใช้คำถาม
  • การนำเสนอ
  • การสอนแบบอภิปราย
  • การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
Evaluation

Self  >>  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ ฟังอาจารย์อธิบายและให้ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการนำเสนอของเพื่อน

Friends >> เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน  แต่มีบ้างส่วนที่ไม่ค่อยฟังและพูดคุยกันในขณะที่เพื่อนกำลังนำเสนอ  อาจารย์ตักเตือนก็ไม่ค่อยฟัง

Teacher >>  หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดเฉพาะจุดที่สำคัญๆให้นักศึกษาได้รู้อย่างชัดเจน อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น คอยพูดอยู่ซ้ำ และนำมาเชื่อมโยงกันได้ดีมาก

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    20  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  14  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2



ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้ดิฉันหยุดเรียน เนื่องจากไม่สบาย และได้เข้าไปศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์สอนในวันนี้จากบล็อกของ นายธนารัตน์  วุฒิชาติ และได้ใจความดังนี้

อาจารย์ได้ให้แบ่งประเภทของเล่นวิทยาศาสตร์


ประเภทของเล่น / สื่อวิทยาศาสตร์

1. การเกิดจุดศูนย์ถ่วง
2. การใช้แรงดันลม
3. การเกิดเสียง
4. การใช้แรงดันน้ำ
5. การใช้พลังงาน/การเกิดแรง
6. จัดเข้าตามมุม


การนำเสนอวิจัยของเพื่อนๆ  4 คน

1.  นางสาวชนากานต์    มีดวง

2. นางสาวสุทธิดา    คุณโตนด
3. นางสาวธิดารัตน์   สุทธิพล


 4.  นางสาวธนพร     คงมนัส

กิจกรรมสุดท้าย กิจกรรม  Cooking
การทำขนมวอฟเฟิล


อุปกรณ์ 
-  แป้งวอฟเฟิล
- ไข่ไก่
-  เนย
-  น้ำ
-  ถ้วย 2 ขนาด (ถ้วยตวง/ถ้วยใช้ในการผสม)
-  ช้อน



วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    13  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  9  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้นำเสนอวิจัย 7 เรื่องดังนี้

                     1.  นางสาวกมลพรรณ  แสงจันทร์

 2. นางสาวกมลกาญจน์  นิลสาคร


                 3. นางสาวนฤมล   บุญคงชู



4.  นางสาวปานัดดา      อ่อนนวล


5.  นายธนารัตน์   วุฒิชาติ


6. นางสาวชนัฐถ์นันท์   แสวงชัย


7.  นางสาวไลลา   คนรู้



(Application / use)

           สามารถนำความรู้ หลักการ/วิธีการในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับจากการฟังวิจัยเรื่องต่างๆไปประยุกต์ ดัดแปลงหรือนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้รับความรู้ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน

(Evaluation)

 Me : การนำเสนอวิจัยของตนเองในครั้งนี้ถือว่ามีการเตรียมความพร้อมมาค่อนข้างดี มีการตอบคำถาม อธิบายและยกตัวอย่างในการนำเสนอวิจัยอาจารย์ได้สนใจการนำเสนอวิจัยของเพื่อน เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

 Friend : สนใจเรียนดี มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยที่ดีอาจมีบางส่วนขาดความพร้อมในการนำเสนอ มีการยอมรับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงอาจมีบ้างเล็กน้อย พูด/คุยขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย

 Teacher : มีการอธิบาย ชี้แจงให้ความรู้เพิ่มเติมในการนำเสนอวิจัยของเพื่อนเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจง่ายขึ้น พร้อมยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับงานวิจัย และมีการให้คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะคนนำเสนอวิจัย เพื่อนำไปปรับปรุงการนำเสนอครั้งต่อไป โดยรวมการรียนการสอนของอาจารย์ครั้งนี้ ดีมาก


บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2




สรุป  ความลับของอากาศ จากวิดีโอที่ได้ชม


อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้านมีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์อากาศไม่มีสีไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น
   อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)

1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้

2.อากาศมีน้ำหนัก

3.อากาศต้องการที่อยู่

4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
 อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น 
     ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
     อุณหภูมิ(temperature)คือระดับความร้อนหนาวของอากาศถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด
ต่ำลงถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์ เทอร์โมมิเตอร์(thermometer)มีลักษณะคล้ายหลอดแก้วหัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆอยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลวเมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัวทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้นเราเรียกว่าอุณหภูมิสูงแต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัวระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
    อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะโดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ 

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2

สรุปวิจัย


เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  

โดย  :  ชยุดา  พยุวงษ์

ความมุ่งหมายของการวิจัย
   
      ในการวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
  1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  ก่อนทดลองและหลังทดลอง
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

       การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย  ในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบเด็กวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม  เพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ เด็กปฐมวัย  ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6  ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  จำนวน  156  คน

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
 
   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง  อายุระหว่าง  5-6  ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน  จากจำนวน  4  ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลากได้จำนวน 20  คน เป็นกลุ่มทดลอง


สรุปผลการวิจัย

      จากการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความมุ่งหมายของการวิจัย  คือ  เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  ก่อนและหลังทดลอง  ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา  1  สัปดาห์จากนั้นทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์  เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทดสอบอีกครั้งและนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคาระห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
  

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    6 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  12  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2



Knowle...

วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสอนตามที่ได้เขียนแผนไว้  มีหัวข้อดังต่อไปนี้

1.  กลุ่มกล้วย  สอนเรื่อง ชนิดของกล้วย



กลุ่มกล้วย   
     ในเรื่องของสื่อที่นำมาสอน อาจจะนำของจริงมาให้เด็กๆมาดู หรือถ้านำรูปมาควรหากระดาษมาปิดชื่อชนิดไว้ก่อน  ทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้น  และเรื่องของเพลงทำได้ดี


2. กลุ่มไก่  สอนเรื่อง ลักษณะของไก่




กลุ่มไก่  ขั้นนำ      สื่อเอาเป็นให้เด็กไปเติม 
                             ร้องเพลงให้เด็กหลับตา  แล้วแจกภาพเด็กให้เด็กที่มีภาพออกมา 
                             ลองทายภาพไก่ที่ครูนำมา
              ขั้นสอน  ลักษณะให้เปลี่ยนจากรูปเงาไก่เป็นรูปคนตัวเล็ก/ตัวใหญ้
                            เขียนภาพความเหมือนต่าง
              ขั้นสรุป  ใช้รูปเป็นสัญลักษณ์ในวงกลม




3.  กลุ่มกบ  สอนเรื่อง ที่อยู่อาศัยของกบ



กลุ่มกบ  
          นำเสนอออกมาได้ดี แต่มีอยู่นิดหน่อยที่ต้องแก้ไข ตอนทบทวนจะต้องทบทวนให้ชัดเจนกว่านี้
               อาจจะทบทวนโดยการเขียนกระดานเพื่อที่จะได้เห็น

4.  กลุ่มปลา  สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา


กลุ่มปลา
    นำเสนอได้ดี  ขั้นนำเปิดด้วยการเล่านิทาน แต่อาจจะเสริมสิ่งที่อยากบอกกับเด็กเอามาในในนิทาน

5.  กลุ่มข้าว  สอนเรื่อง การประกอบอาหาร



กลุ่มข้าว  
     ควรเตรียมวัจถุดิบในการประกอบอาหารให้พร้อมใส่ถ้วยหรือจานไว้ แล้วค่อยเรียกเด็กๆออกมา ทำพร้อมกับคุณครู

ครบ 5 วันก็เริ่ม แผนใหม่อีก 5 วันดังต่อไปนี้

1.  กลุ่มต้นไม้  สอนเรื่อง ชนิดของต้นไม้



กลุ่มต้นไม้   ครูควรท่องจำคำคล้องจองมาให้ดีๆ
                    และรูปที่นำมาควรให้ดูอย่างชัดเจน
                    ถ้าจะให้เด็กออกมาจำแนกควรทำอย่างละภาพไม่ควรติดตัวเลขจะทำให้เด็กๆสับสน


2.  กลุ่มนม  สอนเรื่อง ลักษณะของนม


กลุ่มนม  ครูควรร้องเพลงให้เสียงดังและสนุกกว่านี้
              ควรสอนในเรื่องลักษณะให้มากกว่านี้
              ในเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์อาจจะเอามาเสริมได้


3.  กลุ่มน้ำ  สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวังของน้ำ


กลุ่มน้ำ มีการนำเสนอดี มีทั้งร้องเพลง เล่านิทานเรื่องหนูนิด
             มีกิจกรรมให้เด็กๆทำ


4.  กลุ่มมะพร้าว  สอนเรื่อง วิธีดูแลต้นมะพร้าว



5.  กลุ่มผลไม้  สอนเรื่อง ประกอบอาหาร



เทคนิคการสอน ( Techinque )
  • การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • การสอนโดยใช้คำถาม
  • สอนแบบกระบวนการคิด
Evaluation

Self  >>  แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์และเพื่อน

Friends >> แต่งกายถูกระเบียบ  เข้าเรียนตรงตามเวลาอาจมีบางคนเข้าเรียนสาย  ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนที่นำเสนอได้ดี

Teacher >> คอยให้เทคนิคการสอนดีมากและเสริมให้เรื่องที่นักศึกษานึกไม่ถึง