วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2

สรุปวิจัย


เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  

โดย  :  ชยุดา  พยุวงษ์

ความมุ่งหมายของการวิจัย
   
      ในการวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
  1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  ก่อนทดลองและหลังทดลอง
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

       การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย  ในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบเด็กวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม  เพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ เด็กปฐมวัย  ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6  ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  จำนวน  156  คน

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
 
   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง  อายุระหว่าง  5-6  ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน  จากจำนวน  4  ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลากได้จำนวน 20  คน เป็นกลุ่มทดลอง


สรุปผลการวิจัย

      จากการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความมุ่งหมายของการวิจัย  คือ  เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  ก่อนและหลังทดลอง  ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา  1  สัปดาห์จากนั้นทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์  เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทดสอบอีกครั้งและนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคาระห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น