วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207) อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ วัน/เดือน/ปี 18 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสตอนเช้า) เวลาเข้าเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2





ความรู้ที่ได้รับ(Knowle)


*กิจกรรมที่ 1    ประดิษฐ์  ใบพัด
      มีขั้นตอนการทำดังนี้..



สรุปบทความในวันนี้..

เลขที่ 11  แสงสีกับชีวิตประจำวัน
    ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มีอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเสมอ เรื่องนี้อาจจะทำให้เราเห็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่มีตาที่ดีเหมือนงูหรือ แมลงบางชนิด นั่นก็คือเรื่องของแสงสีใช่แล้ว อ่านไม่ผิด "แสงสี" ซึ่งถ้าใครที่เรียนศิลปะมาแล้วจะคุ้นกับคำว่าแม่สีมากกว่า 
เลขที่  12      เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
       เงา เป็นพื้นที่ซึ่งแสงจากแหล่งกำเนิดแสงวัตถุหนึ่งบัง  เงากินพื้นที่ทั้งหมดหลังวัตถุทึบแสงเมื่อมีแสงอยู่ด้านหน้าภาพตัดขวางของเงาเป็นภาพเงาทึบสองมิติ หรือภาพฉายย้อนกลับของวัตถุความยาวของเงาที่เปลี่ยนแปลง มุมที่น้อยลงก่อให้เกิดเงาที่ยาวขึ้น
เลขที่  13    สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   
            จัดสภาพแวดล้อมโดยตรงจัดขยะ  ปลูกต้นไม้  และควรมีการจัดสภาพในโรงเรียน
 เลขที่ 14       วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   
       เด็กจะไม่เรียนรู้ผ่านเนื้อหาโดยการลงมือกระทำ  ทดลอง  จากการสังเกตและการจำแนกประเภท  มี 2 ประเภท  คือ
  1.  ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
  2.  หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์


  เลขที่  15      การทดลองวิทยาศาสตร์
  1.    ทักษะสังเกต     
  2.   ทักษะการวัด
  3.      ทักษะการจำแนกระประเภท
  4.       ทักษะการสื่อสาร
  5.       ทักษะการลงความเห็น
  6.      ทักษะการพยากรณ์

กิจกรรมสุดท้ายในวันนี้คือ  แสดงผลงานที่ได้มอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว  


และอาจารย์จึงได้บอกให้มาแก้ไข






การนำไปประยุกต์ใช้

1. สามารถนำวิธีการสอนมาประยุกตร์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้2. สามารถจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้3. สามารถเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กเป็นลำดับขั้น

Evaluation

Self  >> เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนนำเสนอจับประเด็นสำคัญ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนร่วมตอบคำถามถึงจะตรงประเด็นบ้างไม่ตรงประเด็นบ้าง


Friends  >>  เพื่อนบางคนเข้าเรียนตรงเวลาบางคนก็เข้าเรียนสาย  เตรียมตัวนำเสนอบทความด้วยความตั้งใจ
ตั้งใจฟังให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

Teacher  >> สรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่ายและถามคำถามให้นักศึกษามีส่วนร่วม บอกวิธีหาบทความ ต้องเชื่อถือได้  อาจารย์สอนสนุกสนาน









วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี   18  กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5   กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08.30-12.20 น.  ห้อง 233  อาคาร  2


ความรู้ที่ได้รับ( Knowle)

        - กิจกรรมแรกอาจารย์ได้แจกกล้องให้ส่องว่าเห็นอะไรบ้างแล้วส่งต่อๆกันไปให้ดูกันทุกคน
เมื่อดิฉันได้ดู ก็พบว่า ภ้ามีแสงจะเห็นว่ามีอะไรอยู่ในนั้น สิ่งที่อยู่ในกล้องนั้นคือ ลูกปิงปอง(Ping pong ball.) และตีความหมายเป็นวิทยาศาตร์ว่า คือ แสงมากระทำกับวัตถุทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ

      - กิจกรรมต่อไปอาจารย์แจกกระดาษ A4 1แผ่น แล้วมาแบ่ง(Share)กัน 4 คนอละแบ่งครึ่งเป็น 2 ส่วน(Divide the paper into 2 sections) และอาจารย์ได้ให้ดูตัวอย่างของอาจารย์ว่า ด้านหนึ่งวาดจาร ส่วนอักด้านวาดผลไม้ จึงให้นึกศึกษาวาดรูปที่สอดคล้องกัน ดิฉันจึงวาด รูปใบบัว ส่วนอีกด้านวาด รูปกบ เสดแล้วนำไม้(Wood )มาติดกับกระดาษ(Paper) จากนั้นลองหมุน(Rotate)  ก็จะเห็นว่ารูปในแต่ละด้าน มารวมกันและสัมพันธ์กัน


            - กิจกรรมถัดมา อาจารย์ได้เปิดเพลงวิทยาศาตร์(Music science)

                                        http://www.youtube.com/watch?v=FX2YsROsh9A

พอฟังเพลงเสร็จอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์และบอกว่าเพลงนี้ให้ความหมายว่าอย่างไรบ้าง 
            * วิทยาศาตร์
-มีการมองต่างมุม
-ทดลอง ฝึกความคิด
-สรุป และหาเหตุผล
-ถ้าอยากรู้อะไรก็ลองใช้สมองดู

          - กิจกรรมสุดท้ายเพื่อนๆ เลขที่ 6-10 ออกมาสรุปบทความ



ก่อนจะหมดเวลาเรียนอาจารย์ได้มอบหมาย(Delegate)ให้ไปศึกษา(Study)
ดูวิดีโอเรื่องความลับของแสงแล้วสรุปได้ว่า..

        ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติบนโลกนี้นี้ การเกิดลม ฝน แสง สีและเสียง การมองเห็นสิ่งต่างๆ มีทั้งความมืดและความสว่าง การมองเห็นแสงที่มีความเร็วมากถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์ก็จะสามารถวิ่งได้รอบโลกประมาณ7รอบใน1วินาทีเลย แสงช่วยให้เห็นสิ่งต่างๆได้ เกิดจากการสะท้อนของแสงเข้ามาทางตาของเรา ทำให้เรามองเห็นสิ่งของต่างๆได้ ตาของเราคือจอสำหรับรับแสงสะท้อนมาจากสิ่งของที่เห็น ถ้าเราแสบตาเมื่อมองแสงแดดหรือแสงไฟนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปทำให้ตาของเรายังปรับตามไม่ทันจึงทำให้แสบตา นอกจากแสงที่มีความสำคัญแล้วยังมีดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างกับมนุษย์ได้ตลอดเวลา แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกของเราเมื่อมีแสงมากระทบแล้วก็มีความแตกต่างกัน3ลักษณะ คือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส วัตถุทึบแสง การเดินทางของแสงจะเป็นเส้นตรง ซึ่งตาของมนุษย์ก็จะมีรูเล็กๆคือรูรับแสง แต่สมองของเราจะช่วยให้กลับบ้านภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ คุณสมบัติของแสงมีประโยชน์มากมาย เช่น การสะท้อนแสง การหักเหของแสง เป็นต้น การที่เรามองเห็นวัตถุที่มีสีแตกต่างกัน เพราะว่าวัตถุบนโลกใบนี้มีสีในตัวของมันเอง ทำให้มีการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีที่แตกต่างกัน เมื่อมีการกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสง แล้วสะท้อนสีที่มีสีเดียวกันออกมา จึงทำให้เราเห็นสีของต่างๆของวัตถุ เงาก็เกิดจากการแสงเหมือนกัน 


การนำไปประยุกต์ใช้

          เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย เพื่อนำทักษะวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กและหาคำตอบ ข้อมูล ความรู้ ไปพร้อมๆกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีทั้งแนวคิดพื้นฐาน วิธีการ เจตคติ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ การเชื่อมั่นในตนเอง การคิด  การรวิเคราะห์ให้รอบด้าน สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วย

              การประเมินผล

       ประเมินตนเอง >>  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
        ประเมินเพื่อน>> วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
        ประเมินอาจารย์>> วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น




     

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย( EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  11 กันยายน พ.ศ 2557
ครั้งที่  4  กลุ่มเรียน  101  (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30-12.20 น.  ห้อง 233  อาคาร 2


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ (Knowle)



วันนี้เพื่อนเลขที่ 1-5 ได้ออกมาพูดบทความให้กับเพื่อนๆในห้องได้ฟัง
แต่เพื่อนเลขที่ 4 ไม่มาเลยมีเพื่อนออกมาพูดแค่ 4 คน
....ดังรูป....




หลังจากที่เพื่อนพูดจบอาจารย์ได้นำเข้าสู่บทเรียนตามหัวข้อดังต่อไปนี้...



            




การประยุกต์ใช้
   สามารถนำความรู้ไปใช้และเป็นเทคนิคความรู้ในการสอนได้ ได้รู้ว่าเด็กไม่จำเป็นต้องเรียนแต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวสามารถเรียนรู้ได้นอกห้องหรือสถานที่ต่างๆได้หลากหลาย


ประเมินผล

ตนเอง >> ไม่ค่อยมีความตั้งใจเรียนในห้อง เพราะมีอาการเพลีย ง่วงนอน เลยไม่ค่อยจะตอบคำถามหรือคิดอะไร

เพื่อน >> ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกันดี แต่ก็มีส่วนน้อยที่คุยกัน ไม่ฟังเวลาอาจารย์สอน 

อาจารย์ >> อธิบาย ขยายความให้นักศึกษาได้เรียนรู้กว้างมากขึ้น มีความตั้งใจในการสอนดีมาก
    

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย( EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  4 กันยายน พ.ศ 2557
ครั้งที่  3  กลุ่มเรียน  101  (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30-12.20 น.  ห้อง 233  อาคาร 2


   ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

ต้นชั่วโมง(the Hour) อาจารย์ได้ทบทวน(review) เนื้อหาของสัปดาห์ที่แล้วให้กับเพื่อนๆที่ไม่ได้มาในสัปดาห์ที่แล้ว

      เนื้อหาที่เรียนในวันนี้คือ..

              รูปแบบการเรียนของเด็กปฐมวัย
       
*คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546


*ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ3-5 ปี)



*ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory)
          คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

     - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข 
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) 
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง 
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) 
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
ภาพ แสดงผลการทดลอง
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของพาฟลอฟ 
สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือสิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่งในขั้นที่ 1 สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US) คือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือ อาหาร สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อน ไขแล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่ง การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditional Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditional Response หรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว
กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง
การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 


2. กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง
การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

ขั้นการทดลอง
1.  ก่อนวางเงื่อนไข

           ให้ผงเนื้อ   ------> น้ำลายไหล
           เคาะกระดิ่ง ------> น้ำลายไม่ไหล

2.  ขณะกำลังวางเงื่อนไข

        ให้ผงเนื้อ + เคาะกระดิ่ง  -----> น้ำลายไหล

3.  หลังการวางเงื่อนไข

         เคาะกระดิ่ง  ----->  น้ำลายไหล

*หลักการ / แนวคิดสู่การพัฒนาเด็ก

-อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell)
 เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดย

  • ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล
- Cephalocaudal - Proximal distal
(reciprocal interweaving)
asymmetry)
maturation)
กล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
อย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซล
เชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง
สรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือ
การเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อม
หรือยังไม่มีวุฒิภาวะ
  • ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล

1. ทิศทางของการพัฒนาการ (development direction)
2. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน
3. พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน (functional
4. การพัฒนาต่าง ๆ เป็นผลมาจากวุฒิภาวะ (individuating

            -ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) 

เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคน
  •  ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ แรงขับดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)

-อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson)
 เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก
*ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 3 ปี
versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี
มีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำ คัญและพร้อมเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อม
รอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง
ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดี
ไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคน
มองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นใน
ตนเอง
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน

  •  ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ
  • ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ
  • ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative

-เพียเจท์ (Jean Piaget)

นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้างเข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์
นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จักAccommodation หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
และการจัดปรับขยายโครงสร้าง
ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
และพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์
ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาใน
ความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและ
แสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจาก
ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับ
ขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงาน
ดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)
  • Assimilation หมายถึง การที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี
ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (PreoperationalStage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ- ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (PreconceptualThought) อายุ 2 – 4 ปี- ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี
        - ดิวอี้ (John Dewey) 

เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)”

         -สกินเนอร์ (B.F. Skinner) 
การเรียนรู้แบบการกระทำ และการเสริมแรง ทั้งบวก และลบ

         -เฟรอเบล(Froeble)
  • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
        - เอลคายน์(Elkind)
  • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
     
*การเรียนรู้อย่างมีความสุข

*สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
   
      พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ  เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน

 *การเรียนรู้แบบองค์รวม

การประยุกต์ใช้

   สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นแนวทางการสอนในอนาคตเมื่อต้องไปปฏิบัติการสอนหรือไปใช้ในการสอนจริง


การประเมิน

ตนเอง  >>  ตั้งใจฟังในการสอนของอาจารย์ได้ดี ไม่ค่อยตอบคำถามในวันนี้แต่งกายถูกระเบียบเข้าเรียนตรงเวลา

เพื่อน  >>  เพื่อนๆสนใจในการเรียนของอาจารย์ได้ดี อาจมีเพื่อนบางครั้งคุยกัน การแต่งกายส่วนใหญ่จะถูกระเบียบมีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่ใส่กระโปรงสั้น

อาจารย์ >> อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เนื้อหาที่เตรียมมาสอนนั้นหลายเรื่องมาก ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมมากขึ้นได้ความรู้ที่กว้างมากขึ้น










สรุปบทความ(article)

 

เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( The Primary Science Teaching)
โดย.. มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ

  วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้ 
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด 
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 


-ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ 
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป