วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย( EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  4 กันยายน พ.ศ 2557
ครั้งที่  3  กลุ่มเรียน  101  (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30-12.20 น.  ห้อง 233  อาคาร 2


   ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

ต้นชั่วโมง(the Hour) อาจารย์ได้ทบทวน(review) เนื้อหาของสัปดาห์ที่แล้วให้กับเพื่อนๆที่ไม่ได้มาในสัปดาห์ที่แล้ว

      เนื้อหาที่เรียนในวันนี้คือ..

              รูปแบบการเรียนของเด็กปฐมวัย
       
*คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546


*ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ3-5 ปี)



*ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory)
          คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

     - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข 
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) 
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง 
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) 
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
ภาพ แสดงผลการทดลอง
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของพาฟลอฟ 
สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือสิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่งในขั้นที่ 1 สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US) คือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือ อาหาร สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อน ไขแล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่ง การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditional Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditional Response หรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว
กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง
การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 


2. กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง
การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

ขั้นการทดลอง
1.  ก่อนวางเงื่อนไข

           ให้ผงเนื้อ   ------> น้ำลายไหล
           เคาะกระดิ่ง ------> น้ำลายไม่ไหล

2.  ขณะกำลังวางเงื่อนไข

        ให้ผงเนื้อ + เคาะกระดิ่ง  -----> น้ำลายไหล

3.  หลังการวางเงื่อนไข

         เคาะกระดิ่ง  ----->  น้ำลายไหล

*หลักการ / แนวคิดสู่การพัฒนาเด็ก

-อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell)
 เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดย

  • ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล
- Cephalocaudal - Proximal distal
(reciprocal interweaving)
asymmetry)
maturation)
กล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
อย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซล
เชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง
สรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือ
การเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อม
หรือยังไม่มีวุฒิภาวะ
  • ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล

1. ทิศทางของการพัฒนาการ (development direction)
2. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน
3. พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน (functional
4. การพัฒนาต่าง ๆ เป็นผลมาจากวุฒิภาวะ (individuating

            -ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) 

เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคน
  •  ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ แรงขับดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)

-อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson)
 เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก
*ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 3 ปี
versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี
มีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำ คัญและพร้อมเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อม
รอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง
ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดี
ไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคน
มองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นใน
ตนเอง
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน

  •  ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ
  • ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ
  • ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative

-เพียเจท์ (Jean Piaget)

นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้างเข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์
นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จักAccommodation หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
และการจัดปรับขยายโครงสร้าง
ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
และพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์
ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาใน
ความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและ
แสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจาก
ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับ
ขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงาน
ดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)
  • Assimilation หมายถึง การที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี
ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (PreoperationalStage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ- ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (PreconceptualThought) อายุ 2 – 4 ปี- ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี
        - ดิวอี้ (John Dewey) 

เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)”

         -สกินเนอร์ (B.F. Skinner) 
การเรียนรู้แบบการกระทำ และการเสริมแรง ทั้งบวก และลบ

         -เฟรอเบล(Froeble)
  • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
        - เอลคายน์(Elkind)
  • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
     
*การเรียนรู้อย่างมีความสุข

*สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
   
      พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ  เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน

 *การเรียนรู้แบบองค์รวม

การประยุกต์ใช้

   สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นแนวทางการสอนในอนาคตเมื่อต้องไปปฏิบัติการสอนหรือไปใช้ในการสอนจริง


การประเมิน

ตนเอง  >>  ตั้งใจฟังในการสอนของอาจารย์ได้ดี ไม่ค่อยตอบคำถามในวันนี้แต่งกายถูกระเบียบเข้าเรียนตรงเวลา

เพื่อน  >>  เพื่อนๆสนใจในการเรียนของอาจารย์ได้ดี อาจมีเพื่อนบางครั้งคุยกัน การแต่งกายส่วนใหญ่จะถูกระเบียบมีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่ใส่กระโปรงสั้น

อาจารย์ >> อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เนื้อหาที่เตรียมมาสอนนั้นหลายเรื่องมาก ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมมากขึ้นได้ความรู้ที่กว้างมากขึ้น










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น