วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    20  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  14  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2



ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้ดิฉันหยุดเรียน เนื่องจากไม่สบาย และได้เข้าไปศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์สอนในวันนี้จากบล็อกของ นายธนารัตน์  วุฒิชาติ และได้ใจความดังนี้

อาจารย์ได้ให้แบ่งประเภทของเล่นวิทยาศาสตร์


ประเภทของเล่น / สื่อวิทยาศาสตร์

1. การเกิดจุดศูนย์ถ่วง
2. การใช้แรงดันลม
3. การเกิดเสียง
4. การใช้แรงดันน้ำ
5. การใช้พลังงาน/การเกิดแรง
6. จัดเข้าตามมุม


การนำเสนอวิจัยของเพื่อนๆ  4 คน

1.  นางสาวชนากานต์    มีดวง

2. นางสาวสุทธิดา    คุณโตนด
3. นางสาวธิดารัตน์   สุทธิพล


 4.  นางสาวธนพร     คงมนัส

กิจกรรมสุดท้าย กิจกรรม  Cooking
การทำขนมวอฟเฟิล


อุปกรณ์ 
-  แป้งวอฟเฟิล
- ไข่ไก่
-  เนย
-  น้ำ
-  ถ้วย 2 ขนาด (ถ้วยตวง/ถ้วยใช้ในการผสม)
-  ช้อน



วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    13  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  9  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้นำเสนอวิจัย 7 เรื่องดังนี้

                     1.  นางสาวกมลพรรณ  แสงจันทร์

 2. นางสาวกมลกาญจน์  นิลสาคร


                 3. นางสาวนฤมล   บุญคงชู



4.  นางสาวปานัดดา      อ่อนนวล


5.  นายธนารัตน์   วุฒิชาติ


6. นางสาวชนัฐถ์นันท์   แสวงชัย


7.  นางสาวไลลา   คนรู้



(Application / use)

           สามารถนำความรู้ หลักการ/วิธีการในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับจากการฟังวิจัยเรื่องต่างๆไปประยุกต์ ดัดแปลงหรือนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้รับความรู้ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน

(Evaluation)

 Me : การนำเสนอวิจัยของตนเองในครั้งนี้ถือว่ามีการเตรียมความพร้อมมาค่อนข้างดี มีการตอบคำถาม อธิบายและยกตัวอย่างในการนำเสนอวิจัยอาจารย์ได้สนใจการนำเสนอวิจัยของเพื่อน เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

 Friend : สนใจเรียนดี มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยที่ดีอาจมีบางส่วนขาดความพร้อมในการนำเสนอ มีการยอมรับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงอาจมีบ้างเล็กน้อย พูด/คุยขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย

 Teacher : มีการอธิบาย ชี้แจงให้ความรู้เพิ่มเติมในการนำเสนอวิจัยของเพื่อนเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจง่ายขึ้น พร้อมยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับงานวิจัย และมีการให้คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะคนนำเสนอวิจัย เพื่อนำไปปรับปรุงการนำเสนอครั้งต่อไป โดยรวมการรียนการสอนของอาจารย์ครั้งนี้ ดีมาก


บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2




สรุป  ความลับของอากาศ จากวิดีโอที่ได้ชม


อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้านมีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์อากาศไม่มีสีไม่มีรสชาติและไม่มีกลิ่น
   อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)

1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้

2.อากาศมีน้ำหนัก

3.อากาศต้องการที่อยู่

4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
 อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น 
     ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
     อุณหภูมิ(temperature)คือระดับความร้อนหนาวของอากาศถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด
ต่ำลงถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์ เทอร์โมมิเตอร์(thermometer)มีลักษณะคล้ายหลอดแก้วหัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆอยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลวเมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัวทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้นเราเรียกว่าอุณหภูมิสูงแต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัวระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
    อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะโดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ 

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2

สรุปวิจัย


เรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  

โดย  :  ชยุดา  พยุวงษ์

ความมุ่งหมายของการวิจัย
   
      ในการวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
  1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  ก่อนทดลองและหลังทดลอง
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

       การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย  ในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบเด็กวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม  เพื่อสามารถนำมาพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ เด็กปฐมวัย  ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6  ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  จำนวน  156  คน

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
 
   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง  อายุระหว่าง  5-6  ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน  จากจำนวน  4  ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลากได้จำนวน 20  คน เป็นกลุ่มทดลอง


สรุปผลการวิจัย

      จากการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความมุ่งหมายของการวิจัย  คือ  เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย  ก่อนและหลังทดลอง  ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา  1  สัปดาห์จากนั้นทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์  เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทดสอบอีกครั้งและนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคาระห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
  

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    6 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  12  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)

เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2



Knowle...

วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสอนตามที่ได้เขียนแผนไว้  มีหัวข้อดังต่อไปนี้

1.  กลุ่มกล้วย  สอนเรื่อง ชนิดของกล้วย



กลุ่มกล้วย   
     ในเรื่องของสื่อที่นำมาสอน อาจจะนำของจริงมาให้เด็กๆมาดู หรือถ้านำรูปมาควรหากระดาษมาปิดชื่อชนิดไว้ก่อน  ทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้น  และเรื่องของเพลงทำได้ดี


2. กลุ่มไก่  สอนเรื่อง ลักษณะของไก่




กลุ่มไก่  ขั้นนำ      สื่อเอาเป็นให้เด็กไปเติม 
                             ร้องเพลงให้เด็กหลับตา  แล้วแจกภาพเด็กให้เด็กที่มีภาพออกมา 
                             ลองทายภาพไก่ที่ครูนำมา
              ขั้นสอน  ลักษณะให้เปลี่ยนจากรูปเงาไก่เป็นรูปคนตัวเล็ก/ตัวใหญ้
                            เขียนภาพความเหมือนต่าง
              ขั้นสรุป  ใช้รูปเป็นสัญลักษณ์ในวงกลม




3.  กลุ่มกบ  สอนเรื่อง ที่อยู่อาศัยของกบ



กลุ่มกบ  
          นำเสนอออกมาได้ดี แต่มีอยู่นิดหน่อยที่ต้องแก้ไข ตอนทบทวนจะต้องทบทวนให้ชัดเจนกว่านี้
               อาจจะทบทวนโดยการเขียนกระดานเพื่อที่จะได้เห็น

4.  กลุ่มปลา  สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา


กลุ่มปลา
    นำเสนอได้ดี  ขั้นนำเปิดด้วยการเล่านิทาน แต่อาจจะเสริมสิ่งที่อยากบอกกับเด็กเอามาในในนิทาน

5.  กลุ่มข้าว  สอนเรื่อง การประกอบอาหาร



กลุ่มข้าว  
     ควรเตรียมวัจถุดิบในการประกอบอาหารให้พร้อมใส่ถ้วยหรือจานไว้ แล้วค่อยเรียกเด็กๆออกมา ทำพร้อมกับคุณครู

ครบ 5 วันก็เริ่ม แผนใหม่อีก 5 วันดังต่อไปนี้

1.  กลุ่มต้นไม้  สอนเรื่อง ชนิดของต้นไม้



กลุ่มต้นไม้   ครูควรท่องจำคำคล้องจองมาให้ดีๆ
                    และรูปที่นำมาควรให้ดูอย่างชัดเจน
                    ถ้าจะให้เด็กออกมาจำแนกควรทำอย่างละภาพไม่ควรติดตัวเลขจะทำให้เด็กๆสับสน


2.  กลุ่มนม  สอนเรื่อง ลักษณะของนม


กลุ่มนม  ครูควรร้องเพลงให้เสียงดังและสนุกกว่านี้
              ควรสอนในเรื่องลักษณะให้มากกว่านี้
              ในเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์อาจจะเอามาเสริมได้


3.  กลุ่มน้ำ  สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวังของน้ำ


กลุ่มน้ำ มีการนำเสนอดี มีทั้งร้องเพลง เล่านิทานเรื่องหนูนิด
             มีกิจกรรมให้เด็กๆทำ


4.  กลุ่มมะพร้าว  สอนเรื่อง วิธีดูแลต้นมะพร้าว



5.  กลุ่มผลไม้  สอนเรื่อง ประกอบอาหาร



เทคนิคการสอน ( Techinque )
  • การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • การสอนโดยใช้คำถาม
  • สอนแบบกระบวนการคิด
Evaluation

Self  >>  แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์และเพื่อน

Friends >> แต่งกายถูกระเบียบ  เข้าเรียนตรงตามเวลาอาจมีบางคนเข้าเรียนสาย  ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนที่นำเสนอได้ดี

Teacher >> คอยให้เทคนิคการสอนดีมากและเสริมให้เรื่องที่นักศึกษานึกไม่ถึง









วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    30  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  11  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2


Knowledge...

   วันนี้อาจารย์ได้ทำการทดลอง และร่วมกันสรุปกับนักศึกษา  โดยมีกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1  ดินน้ำจมน้ำ
          เมื่อปั้นดินน้ำมันเป็นวงกลมแล้วเอาไปหย่อนลงในน้ำ  ดินน้ำมันก็จมลงไป

            อาจารย์ลองให้แถวที่ 3-4-5  ลองเปลี่ยนรูปแบบดินน้ำมันที่ไม่ใช่เป็นวงกลม และทำยังไงก็ได้ไม่ให้ดินน้ำมันจม


กิจกรรมที่ 2  ดอกไม้บาน


















 กิจกรรมที่  3   ระดับความพุ่งไกลของน้ำ


ที่ขวดน้ำจะมีรูอยู่  3  ระดับ  ระดับบน  ระดับล่าง  ระดับต่ำ และระดับที่น้ำพุ่งไกลที่สุดคือระดับต่ำ

กิจกรรมที่  4  การไหลของน้ำ

จากรูปจะเห็นว่าสายยางอยู่ในระดับต่ำจึงทำให้น้ำพุ่งออกมา  แต่ถ้าสายยางอยู่ในระดับสูงนั้นน้ำจากขวดจะไม่ไหลออกมา 

กิจกรรมที่ 5  แก้วดับเทียน


จะเห็นว่าเมื่อนำแก้วไปครอบเทียนไขไว้  เวลาผ่านไปสักพักเทียนไขจะดับลงเพราะไม่มีอ๊อกซิเจน

กิจกรรมสุดท้าย  ปากกาในน้ำ


เมื่อนำด้ามปากกาจุ่มลงไปในน้ำ จะเห็นว่าด้ามปากกาที่อยู่ในน้ำนั้นจะขยายใหญ่  เพราะน้ำสามารถช่วยเป็นเครื่องขยายได้


เทคนิคการสอน ( Techinque )

  • การสอนโดยใช้คำถาม
  • การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
  • สอนแบบกระบวนการคิด

Evaluation

Self  > แต่งกายถูกระเบียบ  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์และเพื่อน

Friends  >แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลาช่วยยกของ ทำกิจกรรม  ตอบคำถามอาจารย์ได้เต็มที่

Teacher  >นำความรู้มาสอนหลากหลาย  และมีความรู้ที่แปลกใหม่น่าสนใจ  อธิบายเสียงดังฟังชัดเจน

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    18  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  10  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2

Knowledge...

         การเรียนวันนี้เป็นการเรียนชดเชย ของวันพฤหัสบดีที่  23  ตุลาคม 

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม  พร้อมยกตัวอย่างอธิบายอย่างชัดเจน ดังนี้

ในการเขียนแผนการสอน  5 วันนั้น

กิจกรรมจะต้องมีรายละเอียดดังนี้

     ขั้นนำ > นิทาน / เพลง / คำคล้องจอง / ใช้คำถาม

     ขั้นสอน >กิจกรรม โดยเน้นกิจกรรมเสริมประสบการณ์

     ขั้นสรุป > ครูและเด็ฏร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เรียนไปในวันนี้จากการทำกิจกรรม

และในส่วนต่างๆ  อาจารย์ก็ได้อธิบายและยกตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม


เทคนิคการสอน ( Techinque )

  • การสอนโดยใช้คถาม
  • การเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • สอนแบบกระบวนการทางความคิด

Evaluation

Self  > แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา จัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

Friends  >มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน ร่วมตอบคำถามกับอาจารย์

Teacher  >อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา  อธิบายเนื้อหาการสอนได้ละเอียด  ให้คำแนะนำกับเรื่องของแต่ละกลุ่มได้อย่างชัดเจน

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED 3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี    16  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ครั้งที่  9  กลุ่มเรียน  101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30 - 12.20  น.  ห้อง 233  อาคาร  2




Knowledge...

        **วันนี้เพื่อนๆในชั้นเรียนได้ออกมานำเสนอ(present)ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตนเองได้ทำมา

as follows

1. ลูกข่างหลากสี  2. ไก่แก้ว  3. ขวดพิ้วปาก  4. กระป๋องโยกเยก  5. ดินสอกังหันลม  6. หลอดปั๊มน้ำ  7. ไหมพรมเต้นระบำ
8. กล้องส่องทางไกล  9. กลองลูกโป่ง  10. หลอดหมุนได้  11. ตุ๊กตาล้มลุก  12. ลูกปิงปองหมุน  13. เรือลอยน้ำ  14. วงกลมหรรษา  15. ลูกข่างหรรษา  16. รถพลังลม  17. นาฬิกาน้ำ  18. เสียงโพะ  19. ปืนลูกโป่ง  20. หนูน้อยกระโดดร่ม  21. ขวดหนังสติก  22. คลื่นทะเลในขวด  23. เหวี่ยงมหาสนุก  24. แท่งยิงลูกบอลจากไม้ไอศครีม  25. เครื่องร่อนวงแหวน  26. รถแข่ง
27. หลอดเสียงสูงต่ำ  28. โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก  29. น้ำเปลี่ยนสี  30. หนังสติกหรรษา  31. แม่เหล็กตกปลา  32. เชียร์ลีดเดอร์  33. นักดำน้ำ  34. ลานหรรษา  35. ปิงป๋อง  36. กระป๋องบูมเมอแรง  37. แมงปอหมุน  38. กบกระโดด  39. แก้วส่งเสียง  40. การเป่าให้ลอย  41. หนังสติกไม้ไอศครีม  42. แมงกระพรุนในขวด  43. มหศจรรย์ฝาหมุน  44. แก้วกระโดด  45. กังหันไฟฟ้าสถิต  46.  เครื่องบินกระดาษ

         
ของเล่นวิทยาศาตร์

"เหวี่ยงมหาสนุก"

       วัสดุ/อุปกรณ์ (material/ tool)

1.กระดาษ( paper)
2.ลูกกลมๆหรือกระดิ่ง (bell)
3.เชือก (rope)
4.หลอด (straw)
5.ของตกแต่ง


      วิธีทำ (how to do )


                           1.  ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส


                           2.  แล้วพับกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม
                      
                              3.  พับมุมสามเหลี่ยมเข้ามาด้านนึง
                            
                                 4.  พับมุมสามเหลี่ยมอีกด้านเข้ามา


                                  5.  พับมุมสามเหลียมด้านบนลงมา 1 ด้าน

                                       6.  พับมุมสามเหลี่ยมด้านบนอีกด้านลงมา
                                       
                                        7.  เอาเชื้อกผูกแล้วไว้ด้านใน  และผูกลูกกลมๆไว้ด้านนอก พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม

    วิธิเล่น

           เหวี่ยงยังไงก็ได้ให้ลูกกลมๆเข้าไปอยู่ตรงกลางในกระดาษ

  หลักการทางวิทยาศาตร์

      แรงเหวี่ยงเป็นสิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง  เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้


เทคนิคการสอน ( Techinque )
  •  การสอนโดยใช้คำถาม
  • การเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • การนำเสนอ


Evaluation

Self  >>   แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา

Friends >>  แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสนอและร่วมกันตอบคำถาม

Teacher >>  พูดจาชัดเจน  เสียงดังฟังชัด ทบทวนความรู้ให้นักศึกษา