วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 2 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง 233 อาคาร 2


 Knowledge..
- กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
สื่อและอุปกรณ์ (accessories)
1. แกนกระดาษทิชชู
2. ที่เจาะกระดาษ
3. กรรไกร
4. กระดาษ
5. เชือก

ขั้นตอนการทำ (step)
                      1. นำแกนกระดาษทิชชูมาวางบนกระดาษแล้ววาดวงกลม 1 วง


                       2.  ตัดแบ่งครึ่งของแกนกระดาษทิชชู และตัดกระดาษรูปวงกลม 1 วง


3. เจาะรูแกนกระดาษทิชชู ทั้ง 2 ด้าน (หน้าและหลัง) และนำเชือกมาร้อย

4.   วาดรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการของตนเองลงบนกระดาษวงกลม


5. นำรูปมาติดไว้ที่แกนกระดาษทิชชูให้สวยงาม

สาธิต

สรุปกิจกิจกรรม.. >> การที่เราสร้างกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กจะได้ทฤษฎีการเรียนรู้ คอสตรัสทาลิซึม

บทความ
1. นางสาวดาริกา
   บทความเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ด” และ ไก่ สสวท.- ครูปฐมวัยสอนนักเรียนอนุบาลเรียนรู้วิทย์จาก เป็ด” และไก่” เริ่มจากเล่านิทานก่อน แล้วเอาลูกเจี๊ยบกับลูกเป็ดมาให้สังเกตลักษณะกันใกล้ๆ พร้อมตั้งคำถามเชิงวิทยาสาสตร์ให้สืบค้น และพาทัวฟาร์มเป็ด-ไก่ของ อบต.ก่อนให้นำเสนอผ่านรูปภาพ นักเรียนชั้นอนุบาล และอนุบาล ที่ครูลำพรรณี มืดขุนทด และ ครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย ทั้งสองสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต.นาเพียง วันละ ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน เดือน เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต.นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา       


2.  นางสาวกานดา  
จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบจากของเล่นวิทยาศาสตร์ นำวัสดุเหลือใช้มาทสิ่งประดิษฐ์ ของของใช้
การประดิษฐ์-           เด็กประดิษฐ์เอง-           ครูทำไว้ตามมุม


3.  นางสาวกาญจนา



    การส่งเสริมกระบวนการคิด   เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และชอบการสำรวจใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5ในการเรียนรู้ โดยอาจจะเริ่มจากการวาดภาพ โยการฝึกให้เด็กสังเกต ตั้งคำถาม แล้วมาเล่าให้พ่อแม่ฟังการบูรณาการมี  2 ประเภท คือ-รวมเป็นเนื้อเดียวกัน-การแยกสาระ

4.  นางสาวจารุวรรณ



     สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติ  สอนในเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวของเด็กโดยตรง ในสาระธรรมชาติรอบตัว นำไปสู่การทดลอง และการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง และสถานการณ์จำลอง โดยการใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์บทความเรื่องที่ 5  สรุปได้ใจความดังนี้การสอนลูกเรื่อง อากาศ การเรียนรู้ลักษณะ ความสำคัญ ความจำเป็น ต่อการดำรงชีวิตซึ่งการจัดกิจกรรมนี้ เด็กจะได้คิดและตั้งคำถามและเขาก็จะเป็นผู้หาคำตอบด้วยตัวของเขาเองโดยครูเป็นผู้จัดประสบการตรงให้แก่เด็กได้ทำกิจกรรม


5. นางสาวนันทวดี

การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆเด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย


เทคนิคการสอน (techinque)

     สอนโดยใช้คำถามเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดอย่างอิสระ ให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงเกิดการเรียนรู้  การคิด  การสังเกต  ค้นคว้าเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหา

Evaluation

Self >> การแต่งกายถูกระเบียบ ร่วมทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี  แบ่งปันอุปกรณ์กันใช้กับเพื่อน


Friends  >> แต่งกายถูกระเบียบเป็นส่วนมาก ไม่คุยกันเยอะในขณะที่อาจารย์กำลังสอน


Teacher >> เข้าสอนตรงต่อเวลา ใช้ความรู้ในการทำกิจกรรมอย่างน่าสนใจ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น